ถาม-ตอบ เรื่องการรับใช้ธรรมะ

1. ศีล ในเขตปฏิบัติธรรม

ถาม: ท่านอาจารย์คะ เหตุใดการรักษาศีล 5 ในเขตปฏิบัติธรรมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

ตอบ: การรักษาศีล 5 มีความสำคัญในทุกๆที่ โดยเฉพาะในเขตปฏิบัติธรรม

เหตุผลแรกก็คือ เป็นเรื่องยากที่จะรักษาศีลดังกล่าวได้ในโลกภายนอก ในชีวิตประจำวัน เรามักมีข้ออ้างมากมายทำให้ผิดศีล แต่ในเขตปฏิบัติธรรมที่เต็มไปด้วยบรรยากาศอันแสนวิเษของธรรมะ อิทธิพลของมารจะอ่อนกว่าโลกภายนอกมาก ฉะนั้น พวกท่านจึงควรใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ในการพัฒนาศีลของตนให้เข้มแข็งขึ้น ถ้าท่านยังไม่สามารถรักษาศีลในบรรยากาศเช่นนี้ได้แล้ว จะไปหวังรักษาศีลในโลกภายนอก หรือพัฒนาธรรมะได้อย่างไร

เหตุผลประการที่สองคือ การรักษาศีลในที่ไหนๆก็เป็นบุญกุศลทั้งสิ้น แต่ในเขตปฏิบัติธรรมจะเป็นบุญกุศลยิ่งกว่า เช่นเดียวกับการละเมิดศีลก็เป็นบาป โดยเฉพาะในเขตปฏิบัติธรรม จะเป็นบาปยิ่งกว่า จงเข้าใจว่าที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะทันทีที่มีความขุ่นมัวเช่นความโกรธ ความโลภ ความหลง ความมีอัตตาตัวตน ความไม่บริสุทธิ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นในใจ ท่านย่อมสร้างกระแสสั่นสะเทือนที่ไม่ดีเข้าสู่บรรยากาศ ท่านจะไม่สามารถทำผิดศีลได้เลย ถ้าไม่มีความขุ่นมัวเกิดขึ้นในใจ ก่อนที่จะตามมาด้วยคำพูดหรือการกระทำที่เป็นอกุศล

ถ้าท่านไปสร้างกระแสเช่นนี้ในที่ที่เต็มไปด้วยกระแสไม่ดี ก็ย่อมทำให้บรรยากาศของที่นั่นแย่ลงอย่างไม่ต้องสงสัย แต่เนื่องจากที่นั่นเต็มไปด้วยกระแสที่ไม่ดีอยู่แล้ว มันจึงเห็นไม่ชัด คล้ายๆกับรอยเปื้อนใหม่บนเสื้อผ้าที่สกปรกอยู่แล้ว แต่ถ้าท่านสร้างความขุ่นมัวขึ้นอยู่ในใจเมื่ออยู่ที่ศูนย์ฯ ท่านก็จะทำลายบรรยากาศที่ดีของศูนย์ฯไป เหมือนกับคราบสกปรกเพียงจุดเล็กๆบนเสื้อผ้าที่ขาวสะอาด

จิตของเรานั้นไม่ได้หยุดนิ่งอยู่เฉยๆ มันจะคอยสั่งสมทั้งสิ่งที่เป็นกุศลและอกุศล หากท่านไม่ได้สั่งสมอกุศล ก็ถือว่าได้สั่งสมกุศลและกระแสที่ดีงาม อันจะช่วยให้เกิดบรรยากาศที่ดีขึ้นแล้ว ฉะนั้น สถานที่ที่จะกลายเป็นแผ่นดินธรรมได้ ย่อมต้องอาศัยการปฏิบัติธรรมของผู้ที่มีกุศลจิต ช่วยสร้างกระแสที่ดีงามให้แก่บรรยากาศ นี่จึงเป็นทานที่ท่านได้มอบให้แก่ศูนย์ ซึ่งนับเป็นทานที่เหนือกว่าวัตถุทานทั้งหลาย

นี่จึงเป็นทานที่ท่านได้มอบให้แก่ศูนย์ ซึ่งนับเป็นธรรมทานที่เหนือกว่าวัตถุทานทั้งหลาย

ยิ่งผู้คนได้ไปปฏิบัติธรรมในที่นั้นๆมากเท่าใด ก็จะยิ่งมีกระแสที่ดีเกิดขึ้น และกระแสที่ดีภายในศูนย์ฯ ก็จะเป็นประโยชน์ ไม่ใช่เฉพาะกับผู้ที่ปฏิบัติที่เข้ารับการอบรมในปัจจุบัน หากมันยังสั่งสมเพิ่มพูนขึ้นอีกด้วย บรรยากาศของธรรมะที่บริสุทธิ์นี้ จะเกื้อกูลต่อการปฏิบัติของผู้เข้ารับการอบรมรุ่นแล้วรุ่นเล่าไปอีกนานเท่านาน

ท่านไม่ทราบหรอกว่า หลังจากนี้ไปอีก 5 หรือ 10 ชั่วอายุคน หรืออีกหลายศตวรรษ จะมีใครมาปฏิบัติธรรมกันที่ศูนย์ฯ แห่งนี้บ้าง จึงนับว่าท่านได้มอบของขวัญอันวิเศษยิ่งให้แก่ผู้คนเหล่านั้น ทาน ของท่านนั้นประเสริฐเหลือล้น เช่นเดียวกัน กระแสไม่ดีที่ท่านสร้างไว้ก็จะทำร้ายผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่แต่เฉพาะในปัจจุบัน หากยังส่งผลไปถึงผู้ปฏิบัติในอนาคตด้วย พวกเขาจะไม่ได้พบกับบรรยากาศที่ดีมีพลังอย่างที่ควรจะเป็น ด้วยเหตุนี้ การรักษาศีล 5 ในแผ่นดินธรรมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ซึ่งจะให้ประโยชน์แก่ผู้ที่ได้สร้างกระแสพลังที่ดี งามด้วยการรักษา ศีล ตลอดจนผู้ปฏิบัติอื่นๆทั้งในปัจจุบันและอนาคต ฉะนั้น ท่านจึงต้องรักษา ศีล เพราะ ศีล เป็นรากฐานของธรรมะ จงรักษาฐานนี้ไว้ให้มั่นคง


2. การรับใช้ธรรมะ และ บารมี

ถาม: อยากจะขอให้ท่านอาจารย์อธิบายว่า การรับใช้ธรรมะจะช่วยให้เราพัฒนาบารมีของตนเองได้อย่างไรบ้างคะ

ตอบ: จริงๆแล้ว การรับใช้ธรรมะก็คือการบำเพ็ญ บารมี อย่างหนึ่ง เพราะผู้ที่อาสาสมัครเข้ามาได้ให้ ทาน ด้วยธรรมะ ผู้คนทั้งหลายมาที่นี่กันเพื่อที่จะรับธรรมะ และการรับใช้ของท่านก็ได้ช่วยให้เกิดของขวัญแห่งธรรมะนี้ขึ้น ในบรรดาบารมีทั้งสิบนั้น ทานเป็นหนึ่งในบารมีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และธรรมทานก็เป็นทานที่อยู่เหนือ ทาน ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ การให้ธรรมะชนะการให้ทั้งปวง ท่านเป็นผู้มีส่วนในธรรมทานนี้ให้แก่ผู้ที่มาปฏิบัติ

เมื่อท่านมารับใช้ธรรมะในหลักสูตร 10 วัน ท่านจะพบว่า ไม่เพียงแต่ทานบารมีเท่านั้น ท่านได้พัฒนาบารมีทั้งสิบไปด้วย ขณะที่ท่านนั่งปฏิบัติในหลักสูตร 10 วัน ท่านกำลังเพิ่มพูน บารมีทั้งสิบนี้ไปด้วยเช่นกัน บารมี ทั้ง 10 ของท่านจะเพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น ขณะที่ท่านรับใช้ธรรมะ ท่านกำลังพัฒนา บารมี ของท่านทีละเล็กทีละน้อย ท่านรักษา ศีล ในขณะที่ท่านอยู่ในดินแดนแห่งธรรมะนี้ ท่านไม่ได้มาเพื่อทำลายกระแสสั่นสะเทือนของที่นี่ แต่เพื่อมาสร้างกระแสสั่นสะเทือนที่ดี มารักษาศีล ไม่ว่าท่านรักษาศีลที่ใดก็ตาม ล้วนเป็นการกระทำที่ดี มีคุณค่าให้ผลดีทั้งสิ้น แต่การที่ท่านได้มารักษา ศีล ในดินแดนแห่งธรรมนั้น ให้ผลยิ่งใหญ่มาก ท่านได้รับโอกาสอันดีนี้แล้ว ที่ท่านสามารถรักษาศีล ของท่านให้บริสุทธิ์ในขณะที่ท่านอยู่ที่ในหลักสูตรเป็นเวลา 10 วัน

เช่นเดียวกันกับ <I>บารมี</I> ข้ออื่นๆ ขันติ! ในขณะนี้ ท่านกำลังเผชิญกับผู้เข้าปฏิบัติซึ่งผู้ปฏิบัตินั้นกำลังมีความรู้สึกปั่นป่วนและขุ่นเคืองเพราะกำลังอยู่ในระหว่างผ่าตัดจิตใจ จนมาระบายอารมณ์ใส่ท่าน แต่ท่านก็ยิ้มรับได้ด้วยความเข้าใจว่า "คนผู้นี้กำลังเป็นทุกข์" ท่านไม่ได้ตอบโต้กลับด้วยความขุ่นเคือง ทว่ากลับรู้สึก <I>เมตตา</I> เขา ซึ่งนั่นก็ช่วยให้ <I>ขันติบารมี</I>  หรือ บารมีแห่งความอดทนอดกลั้นของท่านเพิ่มพูนมากขึ้น และมากขึ้น และการที่ท่านมีโอกสาได้นั่งปฏิบัติร่วมกันวันละ 2-3 ครั้ง ก็จะเป็นการพัฒนา <I>สมาธิ</I> ให้เพิ่มพูนขึ้น <I>ปัญญาบารมี</I>​ของท่านก็จะเพิ่มพูนขึ้น  และ <I>เมตตาบารมี</I>ของท่านก็จะเพิ่มพูนไปด้วย ท่านจะมีโอกาสได้พัฒนา<I>บารมี</I>ทั้งสิบข้อ เช่นเดียวกับการที่เข้าฝึกปฏิบัติในคอร์ส

เวลาที่มาเข้าปฏิบัติ ท่านจะอยู่กับตัวเองเท่านั้น แต่เวลาที่มารับใช้ธรรมะ ท่านจะได้เรียนรู้วิธีการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และวิธีการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องเมื่อออกไปยังโลกภายนอก ถึงท่านจะปฏิบัติวิปัสสนาด้วยความขยันหมั่นเพียร และสามารถรักษาอุเบกขาต่อเวทนาทุกชนิด แต่ก็ใช่ว่าท่านจะมีชีวิตอยู่ภายในเรือนกระจกที่ปิดสนิทตลอดไป ท่านต้องรู้จักที่จะนำธรรมะไปใช้กับโลกภายนอกด้วยซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย การได้อยู่ในศูนย์ฯ ท่ามกลางบรรยากาศแวดล้อมที่ดีและเป็นกุศล จะช่วยให้ท่านมีพลัง ที่จะน้อมนำธรรมะออกไปเผชิญกับความผันผวนของชีวิต

การรับใช้ธรรมะเป็น บารมีที่ยิ่งใหญ่ ข้าพเจ้าทราบดีจากประสบการณ์ส่วนตัวและจากคนอื่นๆ ที่ได้เริ่มเข้ามารับใช้ธรรมะว่า การปฏิบัติก้าวหน้าขึ้น สามารถปฏิบัติไปได้ลึกยิ่งขึ้นหลังจากการรับใช้ธรรมะ นอกจากนี้อุเบกขาและเมตตาก็ดีขึ้น ทั้งนี้เพราะบารมีต่างๆได้เพิ่มพูนขึ้น ฉะนั้น การรับใช้ธรรมะจึงให้ผลที่น่าอัศจรรย์ในทุกๆด้าน

การที่ท่านได้บริจาค ทาน ให้แก่โรงพยาบาล โรงเรียน หรือบ้านเด็กกำพร้า เพื่อประโยชน์ของผู้อื่นนั้น นับเป็นการบำเพ็ญบารมีอย่างหนึ่งทว่าหลังจากนั้นพวกเขาก็จะขาดแคลนยา อาหาร หรือเสื้อผ้าอีก แต่ถ้าท่านบริจาคทรัพย์ให้แก่สถานที่ที่มีการจัดอบรมธรรมะ ย่อมสร้างประโยชน์ยิ่งกว่า เพราะธรรมะจะช่วยให้ผู้คนทั้งหลายได้พบกับหนทางพ้นทุกข์ ซึ่งไม่มีสิ่งอื่นใดเทียบเทียมได้ ฉะนั้น การบริจาค ทาน แก่องค์กรหรือศูนย์ฯที่ให้ธรรมะ จึงเป็นการบำเพ็ญ บารมี ที่มีค่ายิ่ง

แต่ทานบารมีจะมีค่ายิ่งขึ้น เมื่อท่านได้รับใช้ธรรมะด้วยแรงกายของตัวท่านเอง แล้วการบำเพญ บารมี<7l> นั้นคืออะไร ก็คือเจตนานั่นเอง ก่อนที่จะบริจาคเงิน ท่านรู้สึกว่า "โอ้วิเศษจริงๆ เงินที่ฉันบริจาคนี่จะได้เอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์"

เจตนานี้นับเป็นการบำเพ็ญบารมีของท่าน แต่ถ้าท่านมารับใช้ธรรมะในหลักสูตร 10 วัน ไม่ว่าจะเป็นการช่วยทำอาหาร จัดการหลักสูตร หรือทำความสะอาดพื้น โดยเฝ้าแต่คิดว่า "ดูสิ การรับใช้ธรรมะของฉันเป็นประโยชน์ต่อผู้คนจำนวนมาก ฉันจะช่วยให้พวกเขาปฏิบัติกันไปได้อย่างราบรื่น ปราศจากปัญหาอุปสรรคใดๆอย่างไรดีหนอ" ตลอดทั้ง 10 วันท่านจะมีแต่เจตจำนงอันวิเศษนี้

ดังนั้น การรับใช้ธรรมะจึงเหนือกว่าการบริจาคทรัพย์ เราไม่ได้บอกว่าการบริจาคทรัพย์ไม่ดี ไม่ใช่อย่างนั้น มันยังมีความสำคัญ เป็นเรื่องดี และให้อานิสงส์ยิ่ง แต่การรับใช้ธรรมะให้อานิสงส์ยิ่งกว่าหลายเท่า เพราะท่านจะได้พัฒนาความเมตตาปรารถนาดีตลอดระยะเวลาดังกล่าว บารมีของท่านจะเพิ่มพูนขึ้นทุกๆขณะ สำหรับข้าพเจ้าแล้ว การรับใช้ธรรมะจึงเป็นทานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ ในระหว่างนั้นท่านยังจะมีโอกาสได้พัฒนาบารมีอื่นๆที่เหลือด้วย ไม่ใช่แต่เฉพาะทานบารมีเท่านั้น

Certainly! Good! Be happy!


3. ความขัดแย้งระหว่างธรรมบริกร

ถาม: บางครั้งในระหว่างการอบรม เราพบว่าธรรมบริกรมีเรื่องขัดแย้งกันด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง เราจะใช้โอกาสจากการรับใช้ธรรมะอย่างไรดี เพื่อที่จะจัดการกับอัตตาตัวเอง และเรียนรู้ที่จะอ่อนน้อมถ่อมตนให้มากขึ้นครับ

A: While you are giving service, conflict arises? That’s your question?

Q: Yes.

หากท่านไม่สามารถรักษาใจให้สงบ มีความรักความเมตตาต่อผู้อื่น แต่กลับมีแต่ความรู้สึกขุ่นมัวแล้ว ท่านก็ควรจะถอนตัวออกไปจากการรับใช้ธรรมะเสีย ท่านอาจอ้างว่า "ไม่ใช่ความผิดของฉัน เป็นของอีกฝ่ายต่างหาก" ไม่ว่าความจริงจะเป็นเช่นไร ท่านก็มีความผิดที่ได้ทำให้ตัวเองขุ่นมัวและขัดแย้งกับผู้อื่น ฉะนั้น ท่านต้องเข้าใจว่าท่านไม่เหมาะสมจะรับใช้ธรรมะในขณะนั้น แต่ควรจะปฏิบัติมากกว่า ท่านไม่สามารถจะรับใช้ผู้อื่นได้ถ้ามีความรู้สึกขุ่นมัวเกิดขึ้น เพราะท่านจะแพร่กระจายการสั่นสะเทือนที่ไม่ดีนี้ไปสู่ผู้อื่น

ถ้าท่านเห็นว่าอีกฝ่ายหนึ่งทำผิด ก็ควรจะแสดงความเห็นกับเขาอย่างสุภาพอ่อนน้อม ค่อยๆอธิบายความคิดของท่าน และพยายามเข้าใจมุมมองของอีกฝ่ายด้วยใจจริง ถ้าเขายังไม่เปลี่ยนแปลง ก็ให้หาโอกาสอธิบายอีกครั้งอย่างสุภาพอ่อนน้อม แต่ก็เป็นไปได้ว่า เขาอาจจะยังไม่เห็นด้วยอยู่ดี ซึ่งข้าพเจ้าขอแนะนำให้ท่านอธิบายเพียงแค่สองครั้งก็พอ ยกเว้นกรณีที่จำเป็นจริงๆ ท่านอาจหยิบยกปัญหานั้นมาพูดคุยเป็นครั้งที่สาม แต่อย่าให้เกินกว่านี้ เพราะถึงแม้ความคิดเห็นของท่านจะถูก แต่การพูดถึงเรื่องเดิมๆมากกว่าสามครั้งแสดงให้เห็นว่าท่านเริ่มมีความยึดมั่นถือมั่นอย่างเหนียวแน่น ต้องการให้สิ่งต่างๆมันเป็นไปตามความคิดของตน นั่นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ขอให้อธิบายความเห็นของท่านเพียงแค่ครั้งสองครั้ง หรืออย่างมากที่สุดสามครั้ง และถ้ายังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ก็ให้พูดกับเขาอย่างสุภาพว่า "ผมมีความเห็นแบบนี้ เราเอาเรื่องนี้ไปปรึกษากับผู้ใหญ่กันเถิด" แต่ก่อนที่เรื่องจะไปถึงคนอื่น ขอให้พูดคุยกับผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างจากท่านเสียก่อน จากนั้นจึงค่อยไปหารือกับผู้ใหญ่ ซึ่งอาจเป็นศิษย์เก่าอาวุโส กรรมการ ผู้ช่วยอาจารย์ ผู้ช่วยอาจารย์อาวุโส อาจารย์ในพื้นที่ หรืออาจารย์ใหญ่ ขอให้จำไว้ว่าท่านต้องพูดคุยปัญหากับเจ้าตัวก่อน

ถ้าทำได้เช่นนี้ ก็จะไม่เกิดวจีกรรมที่เป็นอกุศล มิฉะนั้นแล้ว จะกลายเป็นการนินทาลับหลัง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้น และคนผู้นั้นยังไม่แก้ไขปรับปรุงตัวเอง ก็อย่าไปถือโทษโกรธเขา ให้เมตตาเขามากๆ ถ้าท่านมีความรู้สึกขุ่นเคือง เพราะสิ่งที่ต้องการไม่ได้ดังใจ นั่นแสดงว่าท่านมีอัตตาแรงกล้า และยึดถือตัวเองเป็นใหญ่ ซึ่งขัดกับธรรมะ จงแก้ไขตัวเองก่อนที่จะพยายามไปแก้ไขผู้อื่น


4. Negativity from Students

ถาม: บางครั้งดูเหมือนว่า เราจะรับเอาสิ่งที่ไม่ดี ความกลัว หรืออื่นๆ มาจากผู้ปฏิบัติที่เรากำลังดูแลรับใช้อยู่ เรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และเราควรจะทำอย่างไรดีคะ

ตอบ: ท่านไม่สามารถรับอะไรจากใครได้ ถ้าท่านรู้สึกว่าได้รับผลกระทบจากอารมณ์ของผู้ปฏิบัติ นั่นเป็นเพราะท่านมีกิเลสชนิดเดียวกันนั้นสะสมอยู่ในตัวของท่าน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าปมของความกลัวได้ผุดโผล่ขึ้นมาบนพื้นผิวของผู้ปฏิบัติจากการปฏิบัติวิปัสสนา บรรยากาศรอบตัวของคนๆนั้นก็จะเต็มไปด้วยกระแสการสั่นสะเทือนชนิดนี้ และจะไปกระตุ้นให้ความกลัวที่นอนเนื่องอยู่ในตัวของท่านผุดโผล่ขึ้นมาด้วย ฉะนั้น จึงต้องขอบคุณเขาที่ช่วยเปิดโอกาสให้ท่านได้ขจัดกิเลสของตัวท่านเอง จงปฏิบัติด้วยการเฝ้าสังเกตเวทนา และไปให้พ้นจากมันเสีย ทำไมจะต้องวิตกกังวลด้วย

ขณะที่ท่านอยู่ในศูนย์ฯ ท่ามกลางบรรยากาศเช่นนี้ ท่านจะสามารถเฝ้าสังเกตสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นและขจัดมันออกไปได้ ถ้าท่านได้หลุดพ้นจากกิเลสนั้นๆแล้ว มันก็จะไม่สามารถทำอะไรท่านได้อีก เมื่อไปกระทบกิเลสเช่นนั้น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อผู้ที่กำลังโกรธเกรี้ยวเข้าใกล้พระพุทธเจ้า ย่อมไม่สามารถทำให้พระองค์โกรธตามได้ เพราะพระองค์ได้ทรงหลุดพ้นจากความโกรธโดยสิ้นเชิงแล้ว ฉะนั้น ตราบใดที่ท่านยังมีเมล็ดพันธุ์ของกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ในตัว เมื่อกิเลสชนิดนั้นปรากฎขึ้นรอบๆตัว มันก็จะไปขุดคุ้ยกิเลสในตัวของท่านขึ้นมาด้วย


5. สัมมาวาจา

ถาม: พวกเรารู้สึกว่า ศีลข้อที่รักษาได้ยากที่สุดในขณะที่รับใช้ธรรมะก็คือสัมมาวาจา ในฐานะของธรรมบริกร เป็นเรื่องยากที่จะเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ นินทาว่าร้าย และพูดเท็จ หรือให้ข้อมูลผิดๆ โดยไม่ตั้งใจ บางครั้งก็มีการเอาเรื่องส่วนตัวของผู้ปฏิบัติมาคุยกัน จึงอยากขอให้ท่านอาจารย์ช่วยชี้แนะพวกเราด้วยว่า จะรักษาสัมมาวาจาได้อย่างไร

ตอบ: การพูดเพ้อเจ้อก็เป็นมิจฉาวาจาแบบหนึ่ง ท่านกำลังละเมิดศีลโดยเพลิดเพลินกับการพูดเพ้อเจ้อและนินทาว่าร้าย ถ้ามีใครต้องการจะนินทา เขาก็ควรออกจากศูนย์ฯ ไปเสีย ที่นี่ควรจะพูดกันแต่เรื่องของธรรมะ หรือไม่ก็รักษาความเงียบให้สมบูรณ์ ตุณหีภาโว ดังเช่นที่พระพุทธองค์ได้ตรัสอยู่เสมอ มิฉะนั้นแล้ว ก็จะเกิดมิจฉาวาจาทั้งหลายอย่างที่ท่านได้กล่าวถึง ในขณะที่พูดคุยเพ้อเจ้อนั้น ท่านจะขาดสติมากขึ้นๆ และหลงเพลินไปกับการสนทนาจนไม่ระมัดระวังเรื่องที่พูด ซึ่งก็อาจจะสร้างปัญหาให้กับผู้ปฏิบัติได้ ท่านจึงต้องหลีกเลี่ยงการกระทำดังนี้โดยเด็ดขาด


6. การถูกเนื้อต้องตัว

ถาม: เหตุใดธรรมบริกรและผู้ปฏิบัติ จึงต้องงดเว้นจากการถูกเนื้อต้องตัวกันในระหว่างที่มีการอบรม หรือตลอดเวลาที่อยู่ในศูนย์ฯ ไม่ว่าจะมีการอบรมหรือไม่ก็ตาม การถูกเนื้อต้องตัวกันไม่ใช่วิธีที่จะแสดงถึงความเมตตาหรอกหรือครับ

ตอบ: ท่านบอกว่าการถูกเนื้อต้องตัวกัน เป็นแค่การแสดงถึงความเมตตาเท่านั้น แต่มันก็พาให้เลยเถิดไปได้ เพราะท่านไม่รู้หรอกว่า เมื่อใดจะตกหลุมพรางของความใคร่ จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่เราต้องหลีกเลี่ยงจากอันตรายนี้ ไม่มีเหตุผลที่จะถูกเนื้อต้องตัวกันในศูนย์ฯ มักจะมีคนพูดกับข้าพเจ้าว่า ในโลกตะวันตกการถูกเนื้อต้องตัวกันไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องความใคร่ ถึงจะไม่ใช่เช่นนั้นเสมอไป แต่ข้าพเจ้าก็เห็นมาหลายๆ กรณีในประเทศตะวันตก ที่ผู้ปฏิบัติถูกเนื้อต้องตัวกันโดยบอกว่าไม่ได้มีความใคร่ แล้วในที่สุด ก็เกิดเหตุการณ์ที่ไม่ดีขึ้นจนได้ ท่านจึงต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะท่านกำลังทำงานอยู่บนแผ่นดินธรรม ซึ่งพลังของอธรรมก็มักจะพยายามหาทางเข้าจู่โจมท่าน ท่านถือเป็นตัวแทนของธรรมะ ถ้ามีจุดอ่อนแม้เพียงเล็กน้อย (และความใคร่ก็เป็นจุดอ่อนที่สำคัญเสียด้วย) กระแสของอธรรมเหล่านี้ก็จะไปกระตุ้นความใคร่ในตัวท่านให้ผุดโผล่ขึ้นมา แล้วท่านก็จะทำลายบรรยากาศทั้งหมด ฉะนั้น ทางที่ดีท่านจึงควรที่จะหลีกเลี่ยงการถูกเนื้อต้องตัวกันไว้ก่อน ถ้ามีใครหาเหตุผลมาโต้แย้ง ก็ไม่ต้องไปฟัง เพราะเรื่องนี้เป็นกฏที่ทุกศูนย์ฯ หรือแม้แต่ในสถานที่ที่มีการจัดอบรมชั่วคราวต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด


7. การแบ่งแยกเขตชายหญิง

ถาม: เหตุใดจึงต้องแบ่งแยกเขตชายหญิง ในระหว่างที่มีการอบรม หรืออยู่ในศูนย์ฯด้วยครับ

ตอบ: เป็นเหตุผลเดียวกับที่ได้อธิบายไปแล้ว ความใคร่เป็นจุดอ่อนที่สำคัญที่สุด มันจะหาทางแสดงออกถ้าไม่มีการแบ่งแยกเขตชายหญิง ฉะนั้น เราจึงควรแบ่งแยกเขตชายหญิงไว้ ซึ่งจะเป็นผลดีแก่ทั้งตัวท่านเองและผู้ที่มาเข้ารับการอบรม


8. การผูกความสัมพันธ์

ถาม: ระหว่างที่ผู้ปฏิบัติมารับใช้ธรรมะหรืออยู่ในศูนย์ฯ อาจมีความรู้สึกสนใจผู้ปฏิบัติด้วยกัน จนอยากจะผูกสัมพันธ์และหวังเป็นคู่ธรรม ผู้ที่กำลังมีความรู้สึกเช่นนี้หรือได้พัฒนาความสัมพันธ์กันไปแล้ว ควรจะปฏิบัติตนเช่นใดในขณะที่รับใช้ธรรมะหรืออยู่ในศูนย์ฯ

ตอบ: ต้องเข้าใจให้ชัดเจนว่า สถานที่ปฏิบัติธรรมไม่ใช่สถานที่ที่จะมาเกี้ยวพาราสีหรือพลอดรักกัน ไม่ว่าจะเพิ่งรู้จักกัน หรือรู้จักกันแล้วก็ตาม ถ้าธรรมบริกรคนใดรู้สึกว่าตนเองกำลังสนใจอีกฝ่าย ก็ควรจะรีบออกไปจากศูนย์ฯ ทันที ไม่ควรอยู่ต่อแม้เพียงนาทีเดียว ขอให้ไปสานต่อความสัมพันธ์ที่หวานชื่นกันนอกศูนย์ฯ ระหว่างที่อยู่ในศูนย์ฯ ท่านจะต้องประพฤติตนต่อกันฉันท์พี่น้อง ถ้ามีความรักใคร่เกิดขึ้นในใจแม้เพียงเศษเสี้ยว ก็รบกวนบรรยากาศของศูนย์ฯ แล้ว ฉะนั้น ต้องหลีกเลี่ยงเรื่องนี้โดยเด็ดขาด ธรรมบริกรทุกคนต้องเข้าใจชัดว่า สถานปฏิบัติธรรมไม่ใช่ที่ที่จะมาสร้างสัมพันธ์ฉันท์ชู้สาวกัน


9. การปฏิบัติธรรมของข้าพเจ้า

ถาม: ในขณะที่รับใช้ธรรมะ ตอนไหนควรจะทำอานาปานะ วิปัสสนา หรือแผ่เมตตาคะ

ตอบ: เป็นคำถามที่ดี ท่านมารับใช้ธรรมะ ไม่ได้มาเข้าปฏิบัติ ฉะนั้นท่านจึงควรพิจารณาเองว่าจะปฏิบัติอย่างไร ก็เหมือนกับที่ปฏิบัติประจำวันที่บ้าน ท่านต้องตัดสินใจเองว่าจะเริ่มต้นด้วยอานาปานะก่อน หรือจะปฏิบัติวิปัสสนาเลย และถ้าเริ่มด้วยอานาปานะ ก็ต้องตัดสินใจว่าปฏิบัตินานเท่าไร นั่นขึ้นอยู่กับดุลพินิจของธรรมบริกรแต่ละคน

ถ้าท่านรู้สึกว่าสมาธิของท่านอ่อนมาก และต้องการจะพัฒนาสมาธิให้เข้มแข็งด้วยการทำอานาปานะตลอด 3 วันแรก ก่อนที่จะเปลี่ยนไปทำวิปัสสนาก็ได้ ที่สำคัญที่สุดก็คือ ท่านต้องปฏิบัติวันละ 2-3 ครั้งในขณะที่มารับใช้ธรรมมะบนผืนแผ่นดินธรรม ถ้าท่านไม่ปฏิบัติ ก็จะไม่สามารถรับใช้ธรรมะอย่างถูกต้อง หรือช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีได้ นี่จึงเป็นประโยชน์ต่อตัวท่านเอง รวมถึงผู้ปฏิบัติที่ท่านกำลังรับใช้ด้วย ฉะนั้นท่านจะต้องปฏิบัติ

ความยากลำบากประการหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ บางครั้งในระหว่างการอบรมมีธรรมบริกรน้อย แต่ละคนก็อยากนั่งหลับตาปฏิบัติในชั่วโมงปฏิบัติรวม นั่นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะท่านมาที่นี่ในฐานะธรรมบริกร ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ ในชั่วโมงปฏิบัติรวมควรจะมีธรรมบริกรสักคนสองคนคอยลืมตาดูว่า ผู้ปฏิบัติคนไหนมีปัญหาบ้าง แต่ถ้ามีธรรมบริกรมาก ก็อาจแบ่งความรับผิดชอบกัน ให้ธรรมบริกรชายหญิงฝ่ายละคนสองคนทำหน้าที่ดูผู้ปฏิบัติ ในขณะที่คนอื่นๆ ปฏิบัติอย่างจริงจังไป ไม่ผิดอะไร แต่ถ้าธรรมบริกรทั้งหมดพากันนั่งหลับตา ก็จะเกิดปัญหาได้ เพราะอาจารย์จะไม่สามารถส่งสัญญาณบอกท่านได้ หากต้องการความช่วยเหลือ นี่จึงเป็นเรื่องที่ควรหลีกเลี่ยง


10. การพูดคุยเรื่องการบำบัดรักษาโรค และเทคนิคการปฏิบัติในแนวทางอื่น

ถาม: บางครั้งเวลาที่เรามารับใช้ธรรมะในหลักสูตร ย่อมเป็นธรรมดาที่จะมีการพูดคุยกันถึงเรื่องการปฏิบัติในแนวทางอื่นๆ รวมถึงการบำบัดรักษาโรค

ตอบ: ก็เหมือนกับนินทากันจนเป็นเรื่องธรรมดานั่นแหละ เลิกเรื่องธรรมดานี้เสีย เวลาที่มีอะไรผิดพลาดเกิดขึ้น เรามักจะพูดว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา เปลี่ยนนิสัยนี้เสีย

ถาม: ผู้ปฏิบัติบางคนเห็นว่า การพูดคุยเรื่อนี้จะช่วยชี้ชัดให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการปฏิบัติวิปัสสนากับแนวทางอื่น

ตอบ: การพูดคุยกันอาจทำให้เกิดความสับสนขึ้นได้เช่นกัน ฉะนั้น จงอย่าได้เอาประเด็นดังกล่าวมาแจกแจงอธิบายกัน

ถาม: ด้วยเหตุใด เราจึงถูกขอให้ไม่พูดถึงเทคนิคการปฏิบัติในแนวทางอื่น รวมถึงการบำบัดรักษาโรค

ท่านอาจจะไปถกเถียงกันนอกศูนย์ฯ ก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่ที่ศูนย์ฯ ไม่ว่าจะในกรณีใดๆก็ตาม


11. ธรรมบริกรให้คำแนะนำการปฏิบัติแก่ผู้เข้าปฏิบัติ

ถาม: ถ้าผู้ปฏิบัติเผชิญกับพายุอารมณ์ แล้วผู้ช่วยอาจารย์ติดงานอื่นอยู่ในขณะนั้น พวกเราในฐานะธรรมบริกร จะช่วยเหลือผู้ปฏิบัติเช่น 'บอกให้ทำอานาปานะมากขึ้น' หรือ 'ผ่อนคลายมากขึ้นด้วยการเอนหล้งหรือเดิน' จะได้ไหมคะ

ตอบ: นั่นเป็นเรื่องที่เสี่ยงมาก ท่านต้องเข้าใจว่าผู้ที่ได้รับอนุญาตให้สอนธรรมะในฐานะของผู้ช่วยอาจารย์ ผู้ช่วยอาจารย์อาวุโส หรืออาจารย์เต็มตัวนั้น เป็นผู้ที่สามารถเชื่อมต่อกับกระแสพลังที่ดีของธรรมะในขณะที่นั่งอยู่บนธรรมาสน์ ซึ่งก็จะช่วยผู้ปฏิบัติได้ ธรรมบริกรไม่ใช่อาจารย์ที่ได้รับแต่งตั้ง จึงไม่ควรทำหน้าที่ของอาจารย์โดยเด็ดขาด ในกรณีที่ผู้ช่วยอาจารย์ไม่อาจทำหน้าที่ได้ในขณะนั้น ท่านอาจคิดว่า "ผู้ปฏิบัติกำลังมีปัญหา ฉันควรให้คำแนะนำไปก่อน" แต่จงระวังอย่าทำเช่นนั้น อย่างมากที่ท่านจะบอกได้ก็คือ "ไปนอนพักก่อนนะคะ ถ้าอาจารย์เสร็จงานเมื่อไร ดิฉันจะพาคุณไปพบกับท่านค่ะ" นั่นไม่ใช่เรื่องของการปฏิบัติ ต้องไม่เข้าไปยุ่งกับเรื่องของการปฏิบัติ จงอย่าได้พูดอะไรมากไปกว่านี้ หรือพยายามให้คำแนะนำใดๆ เพราะคำแนะนำของท่านอาจสร้างปัญหาให้แก่ผู้ปฏิบัติ ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่สำคัญและเชื่อมต่อกับกระแสธรรมะก็คือผู้ช่วยอาจารย์


12. สื่อการอ่านที่เหมาะสม

ถาม: ระหว่างที่รับใช้ธรรมะหรืออยู่ในศูนย์ฯ เราควรจะอ่านแต่หนังสือที่เกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือไม่ก็หนังสือพิมพ์และวารสารเท่านั้น ผู้ปฏิบัติมักถามว่า เหตุใดพวกเขาจึงไม่สามารถอ่านหนังสืออื่นๆ อยากจะขอให้อาจารย์ช่วยอธิบายถึงเหตุผลของกฎข้อนี้ด้วยครับ

ตอบ: แล้วใครกันล่ะที่จะมีหน้าที่คอยบอกว่าหนังสือเล่มนี้เหมาะ เล่มนั้นไม่เหมาะ ท่านจะหวังให้ผู้ช่วยอาจารย์ตรวจสอบหนังสือทุกเล่มที่นำติดตัวมาด้วยไม่ได้ ทางที่ดีจึงไม่ควรนำหนังสือมาเลย เก็บไว้อ่านข้างนอกเถิด ทำไมจะต้องทำลายบรรยากาศที่นี่ด้วย ธรรมบริกรควรระลึกอยู่เสมอว่า เรามาที่ศูนย์ฯ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดี ถ้าท่านต้องการจะอ่านหนังสือที่อาจรบกวนบรรยากาศของศูนย์ฯ ก็ควรออกไปจากศูนย์ฯ เพราะเป็นเรื่องยากที่จะสร้างบรรยากาศของธรรมะขึ้นมาได้ เราจึงต้องรักษาบรรยากาศนี้ไว้ เพื่อประโยชน์ชั่วลูกชั่วหลานตราบนานเท่านาน ขอจงระวังอย่าได้ทำลายบรรยากาศนี้ ไม่ใช่เรื่องดีเลยที่จะปล่อยให้มีการทำลายบรรยากาศของศูนย์ฯ ไม่ว่าจะด้วยข้ออ้างใดๆก็ตาม


13. เวลามีพายุอารมณ์

ถาม: เราควรจะทำอย่างไร ถ้ามีพายุอารมณ์เกิดขึ้น แต่ต้องทำงานให้เสร็จ เพราะไม่มีใครทำแทนได้ ถ้าเป็นช่วงที่รู้สึกแย่จริงๆ จากการเป็นธรรมบริกรติดต่อกันมานาน เมื่อใดที่เราควรจะปฏิบัติให้มากขึ้น และเมื่อใดควรที่จะออกไปจากศูนย์ฯ คะ

ตอบ: ผู้ช่วยอาจารย์ที่รับผิดชอบการอบรมในขณะนั้น อยู่ในสถานะที่ดีที่สุดที่จะให้คำแนะนำแก่ท่านได้ ท่านควรจะไปพบกับอาจารย์และปรึกษาเรื่องนี้


14. เหตุผลเบื้องหลังของคำว่า 'สาธุ' และก้มลงกราบ

Q: Is there any purpose behind the old students chanting ‘Sadhu’ and bowing, or is this just a rite or ritual?

A: It is no rite or ritual. As I said, out of these five extremities, the extremity of the top is an extremity that can receive vibrations. And somebody has expressed mettā, by saying: “May all beings be happy!. “Bhavatu sabba maṅgalaṃ.” That means one has given a good vibration, a vibration of mettā. You bow down and you accept those vibrations at the top of the head. When you say “Sadhu,” that is your sympathetic joy, that you feel so joyful. When the teacher or assistant teacher says “Bhavatu sabba maṅgalaṃ”, he or she says it with a feeling of joy: “May all beings be happy!” You join in this joy. This is the sympathetic joy with which you say “Sadhu.” And accepting good vibrations is in your own interest. You are thirsty, and somebody is giving you water. If you cup your hands, you will get water. If you keep your hands apart, the water will fall down. Bow down - in your own interest. It is no rite or ritual! This is a healthy tradition of the past. Make use of it!


15. การฝึกโยคะ

ถาม: ปกติธรรมบริกรจะไม่ค่อยมีโอกาสได้ออกกำลังกายในระหว่างช่วงที่รับใช้ธรรมะ พวกเขาจะฝึกโยคะในระหว่างที่รับใช้ธรรมะ หรืออยู่ในศูนย์ฯ ได้ไหมครับ

ตอบ: การฝึกโยคะอาสนะไม่ขัดกับวิปัสสนา แต่ไม่ควรฝึกในศูนย์ฯ เพราะอาจรบกวนผู้ปฏิบัติ หากไปพบเห็นเข้า ไม่ใช่เรื่องดีเลยที่จะไปสร้างอุปสรรคขวางความก้าวหน้าของผู้ปฏิบัติ ถ้าธรรมบริกรมีห้องส่วนตัว ก็ฝึกโยคะอาสนะได้ แต่จะต้องไม่รบกวนผู้อื่น อย่างไรก็ตามควรขออนุญาตจากอาจารย์หรืออาจารย์ผู้ช่วยที่ดำเนินการอบรมก่อน ถ้าอาจารย์หรือผู้ช่วยอาจารย์เห็นว่า การฝึกโยคะจะไม่รบกวนผู้ปฏิบัติ ก็สามารถทำได้ มิฉะนั้นแล้วกไม่ควรทำ แค่เดินก็เป็นการออกกำลังกายที่ดีแล้ว


16. คำบาลีและฮินดี

ถาม เวลาที่ท่านอาจารย์สอนเป็นภาษาอังกฤษ เหตุใดจึงต้องใช้คำบาลีและฮินดีในบทสวดมนต์และธรรมบรรยายด้วยครับ

ตอบ: สำหรับข้าพเจ้าภาษาบาลีและภาษาฮินดีเป็นภาษาที่ไพเราะจับใจ โดยเฉพาะภาษาบาลีเป็นภาษาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ส่วนภาษาฮินดีก็เป็นภาษาแม่ของข้าพเจ้า แต่เหตุผลลึกๆคือ คำเหล่านี้สร้างกระแสสั่นสะเทือนที่ดีให้แก่ผู้ปฏิบัติในขณะที่ปฏิบัติด้วย ในธรรมบรรยายภาษาอังกฤษ ข้าพเจ้าระมัดระวังที่จะใช้ภาษาทั้งสองนี้ให้น้อยที่สุด แต่ในธรรมบรรยายภาษาฮินดี บทสวดมนต์นี้มีประโยชน์มาก ช่วยให้เกิดแรงบันดาลใจต่อผู้ปฏิบัติ เพราะชาวอินเดียเข้าใจภาษาทั้งสองเป็นอย่างดีโดยเฉพาะภาษาฮินดี หลายท่านสามารถเข้าใจบทสวดมนต์บาลีได้อย่างรวดเร็วหลังจากเข้าหลักสูตรเพียงไม่กี่ครั้ง ผู้ปฏิบัติเก่ารวมทั้งจากประเทศตะวันตกหลายท่านมักจะบอกกับข้าพเจ้าว่า "เวลาที่ท่านสวดมนต์เป็นภาษาบาลี พวกเรารู้สึกถึงกระแสสั่นสะเทือนที่ดี" ผู้ปฏิบัติใหม่อาจไม่เห็นด้วย และอาจหงุดหงิดคิดว่า "เป็นบทสวดอะไรกันนี่ ทำไมท่านอาจารย์ต้องรบกวนฉันด้วย" แต่เขาก็จะค่อยๆเข้าใจถึงผลดีทีละน้อย

ในการบันทึกเทปธรรมบรรยายภาษาอังกฤษครั้งล่าสุด ได้มีการตัดข้อความบาลีออกไปจนเหลือน้อยที่สุด หลังจากนั้นก็มีเสียงบ่นเข้ามาอีก เราคงไม่สามารถทำให้ทุกคนพอใจได้หมด อย่างไรก็มีคนที่ไม่พอใจอยู่ดี แต่เราต้องทำงานให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ และท่านก็ต้องรับใช้ธรรมะให้ดีที่สุดเท่าที่ท่านจะทำได้ในฐานะของธรรมบริกร

ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายจงมีความสุข