คำนำและข้อสังเกตต่อบทคัดย่อของหลักสูตร

คำนำ

ท่านอาจารย์ โกเอ็นก้า ได้กล่าวไว้ว่า "เราจะหลุดพ้นได้ก็ด้วยจากการปฏิบัติไม่ใช่จากการสนทนา" หลักสูตรการปฏิบัติวิปัสสนานี้เป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น ผู้ปฏิบัติจะได้เรียนรู้ที่จะปล่อยวางความตึงเครียดและอคติในใจที่เกิดขึ้นระหว่างวัน เมื่อผู้ปฏิบัติได้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ ก็จะค้นพบที่จะใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบันอย่างสงบ มีประสิทธิภาพ และมีความสุข นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติก็กำลังมุ่งสู่เป้าหมายสูงสุดของการเป็นมนุษย์คือ ความบริสุทธิ์ทางจิตใจ ความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงและ ไปสู่การรู้แจ้งในที่สุด

เหล่านี้ไม่ได้ได้มาจากการคิด หรือการปรารถนาอยากได้มา เราต้องเริ่มก้าวเดินเพื่อไปสุ่จุดหมายนั้น ฉะนั้นการปฏิบัติวัปัสสนาก็เพื่อเหตุผลนี้ ไม่อนุญาตให้มีการโต้เถึยงเกี่ยวกับปรัชญาใดๆ หรือทฤษฎีใดๆ ไม่มีการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ การปฏิบัติสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติหาคำตอบด้วยตนเองเท่าที่เป็นไปได้ อาจารย์ผู้ช่วยสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติ ผู้ปฎิบัตินำคำแนะนำนั้นไปปฏิบัติซึ่งแต่ละคนต้องต่อสู้และทำงานอย่างหนักเพือการหลุดพ้นของตนเอง

อย่างไรก็ตาม การอธิบายก็ยังคงมีความจำเป็นต่อการปฏิบัติ ดังนั้นในทุกเย็นของหลักสูตร ท่านอาจารย์โกเอ็นก้าจะมีการ "ธรรมบรรยาย" ธรรมบรรยายนี้เก็เพื่อที่จะกล่าวถึงมุมมองประสบการณ์การปฏิบัติในวันนั้นๆ และเพื่อที่จะอธิบายเกี่ยวกับเทคนิคปฏิบัติให้ชัดเจนยิ่งขึ้นในหลายๆมุมมอง การบรรยายธรรมของท่านอาจารย์ไม่ได้เป็นไปเพื่อความบันเทิงทางปัญญาหรือทางอารมณ์ แต่เพื่อที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติได้เข้าใจว่าปฏิบัติอย่างไรและเพื่ออะไร ซึ่งผู้ปฏิบัติก็จะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและผลลัพธ์ก็จะออกมาในทางที่ถูกต้องไปสู่ความสำเร็จ

การบรรยายนี้จะเป็นแบบย่อ

ธรรมบรรยาย 11 วันให้ภาพกว้างเกี่ยวกับธรรมะของพระพุทธเจ้า วิธีปฏิบัตินั้นเป็นวิธีปฏิบัติที่สอดคล้องกับคำสอนของพระองค์ เป็นวิธีที่ไม่สามารถอธิบายในเชิงวิชาการ หรือการวิเคราะห์ได้ ถ้าเปรียบธรรมะเป็นอัญมณีที่มีค่า ไม่ว่าอัญมณีนั้นจะมีเหลียมและมุมที่ต่างกันอย่างไร สุดท้ายแล้วก็เป็นอัญมณีหนี่งเดียว เช่นเดียวกันกับประสบการณ์การปฏิบัติธรม ผู้ปฏิบัติจะได้เผชิญกับความรุ่มร้อนภายในที่นำไปสู่การเรียนรู้ความจริงของชีวิตและเกิดความสว่างทางปัญญาในที่สุด การฟังเพียงธรรมบรรยายหรือธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงความเข้าใจนี้ได้ ถึงแม้ว่าความเข้าใจธรรมะในระดับเหตุและผลสามารถเกื้อหนุนต่อการปฏิบัติธรรมก็ตาม ฉะนั้นธรรมบรรยายในแต่ละวันจะกล่าวถึงความสำคัญโดยย่อของการปฏิบัติ เป็นแรงบันดาลใจและแนะแนวให้กับผู้ปฏิบัติตามแนวทางของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า

ไม่แนะนำให้ท่านปฏิบัติด้วยตนเองจากการอ่านฉบับย่อของวิปัสสนา วิปัสสนาเป็นเรื่องจริงจัง เป็นวิธีปฏิบัติที่สามารถเจาะลึกเข้าไปในส่วนลึกของจิตใจ จึงไม่ควารลองปฏิบัติเล่นๆ โดยปราศจากคำแนะนำที่ถูกต้อง ผู้ใตที่คิดจะนำไปปฏิบัติด้วยตนเองอาจเกิดอันตรายขึ้นได้ ดังนั้นหากผู้ใดมีความประสงค์ที่จะปฏิบัติในแนวทางนี้ ควรติดต่อขอเข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตร 10 วัน ซืึ่งมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อผู้ปฏิบัติ และมีผู้สอนที่ได้รับการอบรมมาอย่างถูกต้อง หลักสูตรวิปัสสนาตามคำสอนของท่านอาจารย์โกเอ็นก้านี้ มีสาขาอยู่ทั่วโลก ตารางการปฏิบัติสามารถเช็คได้ ที่นี่

ฉบับย่อนี้ได้มาจากการแสดงธรรมของท่านอาจารย์โกเอ็นก้าที่ศูนย์วิปัสสนา เมือง Shelburne Falls รัฐ Massachusetts สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2526 แต่ฉบับย่อของวันที่ 10 เป็นธรรมบรรยายที่แสดงเมือเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2527

ถึงแม้ว่าท่านอาจารย์โกเอ็นก้าได้มีการตรวจปรู๊ฟก่อนการตีพิมพ์แล้ว ท่านไม่ได้มีเวลามากพอที่จะลงลึกไปในรายละเอียด ฉะนั้นหากเกิดความผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนใดๆ ผู้จัดทำขอรับผิดชอบไว้แต่เพืยงผู้เดียว ผู้จัดทำยินดีแก้ไขหาท่านผู้อ่านพบข้อผิดพลาดประการใด

หวังว่าผลงานนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติธรรม

ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายจงมีความสุขโดยทั่วหน้ากัน

วิลเลียม ฮาร์ท


หมายเหตุเนื้อหาของบทคัดย่อธรรมบรรยาย

ท่านอาจารย์ โกเอ็นก้า อ้างอิงคำสอนส่วนใหญ่จากพุทธพจน์ของพระพุทธเจ้าและสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าที่ระบุไว้ใน 2 หมวดหมู่ของพระไตรปิฎก อันได้แก่ พระวินัยปิฎก และพระสุตต้นตปิฎก และมีคำอ้างอิงบางส่วนจากวรรณคดีบาลีที่ถูกเขียนหลังจากต้นฉบับ แทนที่จะแปลคำต่อคำ ท่านอาจารย์ฯได้แปลความหมายให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และสอดคล้องกับวิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้

ภาษบาลีที่พบในบทคัดย่อ ท่านอาจารย์โกเอ็นก้าได้อธิบายความหมายไว้ในธรรมบรรยายแ สำหรับเอกสารนี้ ในส่วนของภาษาบาลีที่มีภาษาอังกฤษกำกับ ผู้จัดได้พยายายถอดความให้ถูกต้องตรงตามข้อมูลอ้างอิงเพื่อให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจได้มากที่สุด แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดของการใช้ตัวอักษร เนื่องจากไม่มีสัญลักษณ์ที่เป็นตัวกำกับเสียงของภาษาบาลีในการพิมพ์

ในเนื้อหาของบทคัดย่อ จะใช้ภาษาบาลีน้อยที่สุด จะใช้เมื่อจำเป็นที่จะต้องกล่าวถึงภาษีบาลีในรุปพหูพจน์เท่านั้น